เมนู

ใช้ในความว่า ผิว ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า สุวณฺณวณฺโณ
ภควา
พระผู้มีพระภาคเจ้ามี พระฉวี ดังทอง.
ใช้ในความว่า สรรเสริญ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ดูก่อน
คฤหบดี คำสรรเสริญพระสมณโคดมเหล่านั้น ท่านรวบรวมไว้เมื่อไร.
ใช้ในความว่าพวกตระกูล ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ท่านพระ-
โคดม วรรณะ 4 เหล่านั้น.
ใช้ในความว่าเหตุ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า เกน นะ วณฺเณน
คนฺะเถโนติ วุจฺจติ
เพราะเหตุอะไรเล่าหนอ จึงมาว่าเราเป็นผู้ขโมยกลิ่น.
ใช้ในความว่า ทรวดทรง ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า มหนฺตํ
หตฺถีราชวณฺณํ อภินิมฺมิตฺวา
เนรมิตวรวดทรงเป็นพระยาช้าง.
ใช้ในความว่า ขนาด ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ตโย ปตฺตสฺส
วณฺณา ขนาด
ของบาตรสามขนาด.
ใช้ในความว่า รูปายตนะ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า วณฺโณ
คนฺโธ รโส โอชา
รูป กลิ่น รส โอชา.
วัณณศัพท์นั้น ในสูตรนี้ พึงเห็นว่าใช้ในความว่า ผิว ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงอธิบายว่า บทว่า อภิกฺกนฺตวณฺณา แปลว่า มีวรรณะน่ารัก.

แก้อรรถบท เกวลกปฺปํ


เกวล

ศัพท์ในบทว่า เกวลกปฺปํนี้ มีความหมายเป็นอเนก เช่น ไม่
มีส่วนเหลือ โดยมาก ไม่ปน [ล้วน ๆ ] ไม่มากเกิน มั่นคง ไม่เกาะ
เกี่ยว
จริงอย่างนั้น เกวลศัพท์นั้นมีความว่าไม่มีส่วนเหลือ ได้ในประโยค
เป็นต้นอย่างนี้ว่า เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ พฺรหฺมจริยํ พรหมจรรย์บริ-
สุทธิ์บริบูรณ์ ไม่มีส่วนเหลือ.

มีความว่า โดยมาก ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า เกวลกปฺปา
จ องฺคมคธา ปหูตํ ขาทนียํ โภชนียํ อาทาย อุปสงฺกมิสฺสนฺติ

ชาวอังคะและชาวมคธะ ส่วนมาก ถือของเคี้ยว ของกิน เข้าไปเฝ้า.
มีความว่าไม่ปน [ล้วน ๆ] ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า เกวลสฺส
ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ
ความเกิดแห่งทุกขขันธ์ ล้วน ๆ มีอยู่.
มีความว่า ไม่มากเกินได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า เกวลํ สุทฺธา-
มตฺตกํ นูน อยมายสฺมา
ท่านผู้นี้มีเพียงศรัทธาอย่างเดียว แน่แท้.
มีความว่า มั่นคง ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า อายสฺมโต
ภนฺเต อนุรุทฺธสฺส พาหิโย นาม สุทฺธิวิหาริโก เกวลกปฺปํ
สงฺฆเภทาย ฐิโต
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัทธิวิหาริก ของท่านพระอนุรุทธะ
ชื่อว่าพาหิยะ ตั้งอยู่ในสังฆเภท การทำสงฆ์ให้แตกกัน ตลอดกัป มั่นคง.
มีความว่าไม่เกาะเกี่ยว ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า เกวลี วุสิตฺวา
อุตฺตมปุริโสติ วุจฺจติ
ผู้ไม่เกาะเกี่ยวอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ท่านเรียกว่า
บุรุษสูงสุด.
แต่ในสูตรนี้ เกวลศัพท์นั้น ท่านประสงค์เอาความว่า ไม่มีส่วน
เหลือ.

ส่วนกัปปศัพท์ มีความหมายมากเป็นต้นว่า ความเชื่อมั่น โวหาร
กาล บัญญัติ ตัดแต่ง วิกัปป์ เลิศ
และโดยรอบ.
จริงอย่างนั้น กัปปศัพท์นั้น มีความว่าเชื่อมั่น ได้ในประโยคเป็นต้น
อย่างนี้ว่า โอกปฺปนียเมตํ โภโต โคตมสฺส ยถา ตํ อรหโต
สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
นั้นเป็นความเชื่อมั่นต่อท่านพระโคดม เหมือนอย่าง
เชื่อมั่น ต่อพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

มีความว่า โวหาร ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า อนุชานามิ
ภิกฺขเว ปญฺจหิ สมณกปฺเปหิ ผลํ ปริภุญฺชิตุํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรา
อนุญาต ฉันผลไม้ด้วยสมณโวหาร 4 ประการ.
มีความว่า กาล ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า เยน สุทํ นิจฺจ
กปฺปํ วิหรามิ
ได้ยินว่า เราจะอยู่ตลอดกาล เป็นนิตย์ ด้วยธรรมใด.
มีความว่า บัญญัติ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า อิจฺจายสฺมา
กปฺโป
ท่าน กัปปะ อย่างนี้.
มีความว่า ตัดแต่ง ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า อลงฺกโต กปฺปิต-
เกสมสฺสุ แต่งตัว
แต่งผมและหนวด.
มีความว่าควร ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า กปฺปติ ทฺวงฺคุลกปฺโป
ภิกษุไว้ผมสององคุลีย่อมควร.
มีความว่า เลศ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า อตฺถิ กปฺโป
นิปชฺชิตุํ
ทำเลศเพื่อจะนอนมีอยู่.
มีความว่า โดยรอบ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า เกวลกปฺปํ
เวฬุวนํ โอภาเสตฺวา
ส่องรัศมี รอบ ๆ พระเวฬุวัน.
แต่ในสูตรนี้ กัปปศัพท์นั้น ท่านประสงค์เอาความว่า โดยรอบ
โดยประการที่ในคำว่า เกวลกปฺปํ เชตวกนํ นี้ ควรจะทราบความอย่างนี้ว่า
ส่องรัศมีตลอดพระเชตวัน โดยรอบไม่เหลือเลย.
บทว่า โอภาเสตฺวา ได้แก่ แผ่ด้วยรัศมี. อธิบายว่า ทำรัศมีเป็น
อันเดียวกัน รุ่งโรจน์อย่างเดียวกัน เหมือนพระจันทร์และเหมือนพระอาทิตย์
คำว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ เป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถแห่ง
สัตตมีวิภัติ โดยประการที่พึงเห็นความในคำนี้ อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับ อยู่ ณ ที่ใด เทพบุตรก็เข้าไปเฝ้า ณ ที่นั้น. หรือพึงเห็นความในคำนี้
อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ขันเทวดาและมนุษย์พึงเข้าไปเฝ้า โดยเหตุใด
เทพบุตรก็เข้าไปเฝ้าโดยเหตุนั้นนั่นแหละ. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า อันเทวดา
และมนุษย์พากันเข้าไปเฝ้า ด้วยเหตุอะไร. ด้วยประสงค์จะบรรลุคุณวิเศษมี
ประการต่าง ๆ เหมือนต้นไม้ใหญ่ที่ออกผลอยู่เป็นนิจ อันฝูงนกพากันเข้าไป
ก็ด้วยประสงค์จะบริโภคผลไม้ซึ่งมีรสอร่อย ฉะนั้น. ท่านอธิบายว่า บทว่า
อุปสงฺกมิ แปลว่าไปแล้ว . คำว่า อุปสงฺกมิตฺวา เป็นคำกล่าวถึงสุดท้ายแห่ง
การเข้าไปเฝ้า. อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า เทวดาไปอย่างนั้นแล้ว ต่อนั้น
ก็ไปยังสถานที่ต่อจากอาสนะ กล่าวคือที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า
ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา ได้แก่ ถวายบังคม น้อมนมัสการพระผู้มีพระภาค
เจ้า.
ศัพท์ว่า เอกมนฺตํ เป็นศัพท์นิเทศทำเป็น ภาวนปุํสกลิงค์. ท่าน
อธิบายว่า โอกาสหนึ่ง ส่วนข้างหนึ่ง. อีกนัยหนึ่ง คำนี้เป็นทุติยาวิภัตติ ลง
ในอรรถสัตตมีวิภัตติ. ศัพท์ว่า อฏฺฐาสิ ปฎิเสธอิริยาบถนั่งเป็นต้น อธิบาย
ว่า สำเร็จการยืน คือได้ยืนแล้ว.
ถามว่า ก็เทวดานั้นยืนอย่างไร จึงชื่อว่าได้เป็นผู้ยืนอยู่ ส่วนข้าง
หนึ่ง.
ตอบว่า ท่านโปราณาจารย์กล่าวว่า
น ปจฺฉโต น ปุรโต นาปิ อาสนฺนทูรโต
น กจฺเฉ โนปิ ปฏิวาเต น จาปิ โอณตุณฺณเต
อิเม โทเส วิวชฺเชตฺวา เอกมนฺตํ ฐิตา อหุ.

ไม่ยืนข้างหลัง ไม่ยืนข้างหน้า ไม่ยืนใกล้และ
ไกล ไม่ยืนที่ชื้นแฉะ ไม่ยืนเหนือลม ไม่ยืนที่ต่ำและ
ที่สูง ยืนเว้นโทษเหล่านี้ ชื่อว่ายืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง

ดังนี้.
ถามว่า เพราะเหตุไร เทวดาองค์นี้ จึงยืนอย่างเดียวไม่นั่ง.
ตอบว่า เพราะเทวดาประสงค์จะกลับเร็ว. จริงอยู่ เทวดาทั้งหลาย
อาศัยอำนาจประโยชน์บางอย่าง จึงมาสู่มนุษยโลก เหมือนบุรุษผู้สะอาด มา
เข้าส้วม. ก็โดยปกติ มนุษยโลก ย่อมเป็นของปฏิกูล เพราะเป็นของเหม็น
สำหรับเทวดาเหล่านั้น นับแต่ร้อยโยชน์ เทวดาทั้งหลาย ไม่อภิรมย์ในมนุษย-
โลกนั้นเลย ด้วยเหตุนั้น เทวดาองค์นั้น จึงไม่นั่ง เพราะประสงค์จะทำกิจที่มา
แล้วรีบกลับไป. ก็มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมนั่งก็เพื่อบรรเทาความลำบากแห่งอิริยา-
บถมีเดินเป็นต้นอันใด ความลำบากอันนั้นสำหรับเทวดาไม่มี เพราะฉะนั้น
เทวดาจึงไม่นั่ง.
อนึ่ง พระมหาสาวกเหล่าใด ยืนแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงนับถือตอบพระมหาสาวกเหล่านั้น [คือประทับยืน] แม้
เพราะเหตุนั้น เทวดาจึงไม่นั่ง.
อนึ่ง เทวดาไม่นั่งก็เพราะเคารพในพระผู้มีพระภาคเจ้า. จริงอยู่ที่นั่ง
ย่อมบังเกิดแก่เทวดาทั้งหลายผู้ประสงค์จะนั่ง เทวดาองค์นี้ไม่ปรารถนาที่นั่งนั้น
ไม่คิดแม้แต่จะนั่ง จึงได้ยืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
บทว่า เอกมนฺตํ ฐิตา โข สา เทวตา ความว่า เทวดาองค์
นั้น ยืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง ด้วยเหตุเหล่านั้นอย่างนี้แล้ว. บทว่า ภควนฺตํ
คาถาย อขฺฌภาสิ
ความว่า ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคำร้อยกรอง

อันกำหนดด้วยอักขระบท. ว่าอย่างไร. ว่าอย่างนี้ว่า พหู เทวา มนุสฺสา จ
ฯปฯ พฺรูหิ มงฺคลมุตฺตมํ.


เรื่องมูลเหตุเกิดมงคลปัญหา


ในการพรรณนามงคลสูตรนั้น เพราะเหตุที่ข้าพเจ้าตั้งมาติกาหัวข้อไว้
ว่า เนื้อจะพรรณนาความแห่งปาฐะมีอาทิว่า เอวํ โดยประการต่างๆ จะกล่าว
ถึงสมุฏฐานมูลเหตุ ดังนี้ นี้เป็นโอกาสที่จะกล่าวถึงสมุฏฐานมลเหตุนั้น ฉะนั้น
จะกล่าวถึงสมุฏฐานมูลเหตุเกิดมงคลปัญหาเสียก่อนแล้วภายหลัง จึงจักพรรณนา
ความแห่งบทคาถาเหล่านี้.
เล่ากันมาว่า ในชมพูทวีป มหาชนชุมนุมกันในที่นั้น ๆ เช่นใกล้ประตู
เมือง สภาแห่งสถานราชการเป็นต้น มอบทรัพย์สินเงินทอง ให้เขาเล่าเรื่อง
ต่าง ๆ เช่น เรื่องนำนางสีดามาเป็นต้น. เรื่องหนึ่ง ๆ เล่าอยู่ถึง 4 เดือนจึงจบ
ในสถานที่นั้น . วันหนึ่ง เรื่องมงคลปัญหาก็เกิดขึ้นว่า อะไรเล่าหนอ เป็น
มงคล. สิ่งที่เห็นหรือเป็นมงคล เรื่องที่ได้ยินหรือเป็นมงคล หรือเรื่องที่ทราบ
เป็นมงคล ใครหนอรู้จักมงคล ดังนี้.
ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่ง ชื่อทิฏฐมังคลิกะ [นับถือสิ่งที่เห็นเป็นมงคล]
กล่าวว่า ข้าพเจ้ารู้จักมงคล. สิ่งที่เห็นเป็นมงคลในโลก รูปที่สมมติกันว่า
เป็นมงคลยิ่ง ชื่อว่าทิฏฐะ. รูปอย่างไรเล่า. คนบางคนในโลกนี้ ตื่นแต่เช้าเห็น
นกกระเต็นบ้าง เห็นต้นมะตูมรุ่นบ้าง เห็นหญิงมีครรภ์บ้าง เห็นเด็กรุ่น
หนุ่ม ตกแต่งประดับกาย เทินหม้อเต็มน้ำบ้าง ปลาตะเพียนแดงสดบ้าง ม้า
อาชาไนยบ้าง รถเทียมม้าบ้าง. โคผู้บ้าง โคเมียบ้าง โคแดงบ้าง ก็หรือว่าเห็น
รูปแม้อื่นใด เห็นปานนั้น ที่สมมตกันว่าเป็นมงคลยิ่ง รูปที่เห็นนี้ เรียกว่า
ทิฏฐิมงคล. คนบางพวกก็ยอมรับคำของเขา บางพวกก็ไม่ยอมรับ พวกที่ไม่
ยอมรับ ก็ขัดแย้งกับเขา.